อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า องค์ประกอบคู่ใจที่ขาดไม่ได้ของบุหรี่ไฟฟ้า
สำหรับ Mod แล้ว พูดได้เลยว่าอะตอมบุหรี่ไฟฟ้า เหมือนคู่ชีวิตที่เกิดมาเพื่อกันและกัน เป็นฟังก์ชันที่ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่ส่งผลโดยตรงต่อการสร้างควัน และรสชาติ ดังนั้นการมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมัน จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักสูบทุกระดับ เพราะไม่เพียงช่วยให้สามารถเลือกซื้อ และปรับแต่งอุปกรณ์ได้ถูกใจ แต่ยังช่วยให้มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า
ไขข้อสงสัย อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร
องค์ประกอบสำคัญที่บุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิดต้องมี เป็นตัวกลางส่งผ่านความร้อน เพื่อเปลี่ยนน้ำยาที่อยู่ภายในให้เป็นสารระเหย หรือไอ ที่สามารถสูดเข้าไปได้ โดยวัสดุที่นิยมนำมาทำจะเป็นพวก สแตนเลส และไทเทเนียม ซึ่งจัดเป็นสสารที่ทนความร้อนได้สูง มีอายุการใช้งานยาวนาน และปลอดภัยต่อผู้สูบมากที่สุด โดยสามารถแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่
- รูสำหรับยึดลวด ส่วนใหญ่ออกแบบมามีลักษณะเหมือนเสา คอยยึดขดลวดให้ติดอยู่กับบุหรี่ไฟฟ้า
- ฝาครอบ เป็นส่วนที่มีรูลมสำหรับรับอากาศเข้าไป ซึ่งส่วนมากจะมีรูลมทั้ง 3 แบบอยู่ในตัวเลย ได้แก่ รูลมบน กลาง และล่าง อีกทั้งยังสามารถปรับขนาดความกว้างได้อีกด้วย
- ปากสูบ ส่วนด้านบนสุดที่ปากของเราสัมผัส ซึ่งสามารถเลือกขนาดได้ตามความต้องการของผู้สูบ
เจาะลึกเข้าไปให้เห็นภาพว่าทำงานอย่างไร
จะเริ่มทำงานเมื่อแบตเตอรี่จ่ายไฟให้กับคอยล์ ต่อมาความร้อนจากขดลวดจะถูกส่งผ่านไปยังสำลีที่อุ้มน้ำยาบุหรี่ไว้จนชุ่ม เมื่อถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม น้ำยาเหล่านั้นจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนสภาพกลายเป็นไอระเหยจากความร้อน เดินทางผ่านอุปกรณ์ไปสิ้นสุดที่ปากเป่าให้เราดูดเข้าไป และพ่นควันออกมาได้
นอกจากนี้กลไกการทำงานอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิดด้วย เช่น บางตัวแค่เติมน้ำยาเข้าไปแล้วรอสักแป๊ปก็ใช้งานได้เลย แต่บางอันต้องคอยหยดน้ำยาเรื่อย ๆ หรือบางรุ่นก็ไม่ต้องเพราะมีแท็งก์เติมน้ำยามาให้ในตัว ซึ่งผลลัพธ์ และฟีลสูบที่ได้ก็จะแตกต่างกันออกไปตามหลักการทำงาน ดังนั้นการเลือกซื้อจึงขึ้นอยู่กับความชอบ และความถนัดของแต่ละคนได้เลย
อะตอมบุหรี่ไฟฟ้า มีกี่ประเภท
ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าได้รับความนิยมเป็นอย่างมากทั้งในไทย และต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งคนใช้เยอะ ความต้องการยิ่งมาก และหลากหลาย โรงงานที่ผลิตจึงต้องคอยทำรุ่นใหม่ ๆ ออกมาขายอยู่เสมอ เป็นเพื่อนคู่ใจ ก็ต้องถูกคิดค้น และพัฒนาออกมามากยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักสูบให้ได้มากที่สุดนั่นเอง โดยตัวฮิตที่ใช้กันหลัก ๆ จะมีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
- Rebuildable Atomizer (RBA) ส่วนมากจะรู้จักกันในชื่อ Sub - Ohm เป็นแบบที่ผลิตจากโรงงานมาสำเร็จพร้อมใช้ จึงค่อนข้างเหมาะสำหรับมือใหม่ เพราะไม่ต้องทำอะไรเยอะ เพียงแค่เติมน้ำยาเข้าไปในแท็งก์ แล้วรอให้สำลีดูดซับเข้าไปประมาณ 5 - 10 นาที ก็สูบได้เลย ไม่ต้องพันลวดเอง และไม่จำเป็นต้องเติมน้ำยาบ่อย โดยตัวนี้อาจจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะคนเล่นบุหรี่ไฟฟ้าส่วนใหญ่ มักชอบการปรับแต่งให้ตรงกับแบบที่ตัวเองชอบที่สุด
- Rebuildable Dripping Atomizer (RDA) เป็นประเภทที่ครองใจผู้คนจำนวนมาก เพราะใช้งานง่าย และมักรู้จักกันในชื่อ อะตอมหยดสูบ ซึ่งจะไม่มีแท็งก์เก็บน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้ามาให้ในตัว จึงต้องใส่สำลี และขดลวดเอง โดยต้องหยดน้ำยาลงบนสำลีอย่างสม่ำเสมอ และคอยเช็กตลอดเพื่อไม่ให้สำลีแห้ง ตาม 3 สเตปที่ควรปฏิบัติ คือ หยด, สูบ, เช็ก เพราะการแห้งของน้ำยาอาจทำให้ขดลวดไหม้ และเป็นอันตรายได้ แต่มีข้อดีคือ รุ่นนี้จะผลิตควันได้เยอะ อีกทั้งยังเป็นแบบที่ได้รสชาติ และกลิ่นดีที่สุด
- Rebuildable Tank Atomizer (RTA) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า อะตอมแท็งก์ ซึ่งตรงตามชื่อเลย คือมีแท็งก์เก็บน้ำยามาให้ในตัว ทำให้สามารถเติมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในปริมาณมากได้ จึงไม่ต้องเติมซ้ำบ่อย นอกจากนี้ยังมีคอยล์ให้เลือกใช้งานได้ 2 แบบ ทั้งคอยล์ในตัว และแบบที่ต้องประกอบเอง ซึ่งมีข้อดีคือ ความคล่องตัวที่มากขึ้น เพราะไม่ต้องพกน้ำยาไปไหนมาไหน แต่ข้อเสียคือ รสชาติที่ได้รับจะไม่ดีเท่าแบบหยดสูบ อีกทั้งยังไม่สามารถเปลี่ยนรสชาติน้ำยาระหว่างวันได้ และต้องคอยระวังเรื่องการรั่วซึมด้วย
- Rebuildable Dripping Tank Atomizer (RDTA) มีชื่อไทยคูล ๆ คือ อะตอมกึ่งหยดสูบกึ่งแท็งก์ เป็นการฟิวชั่นของแบบ RDA และ RTA โดยด้านบนจะเป็นแบบหยดสูบ และด้านล่างเป็นแท็งก์สำหรับเก็บน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้ายกับแบบหยดสูบ โดยมีตัวถังสำรอง และทำการค่อย ๆ หยดลงถังหลัก เวลาใช้งานอาจยุ่งยากเล็กน้อย เพราะต้องถอดออกมาก่อน และคว่ำหัวลงเพื่อรอให้น้ำยาซึมเข้าสำลี จึงจะสูบได้
9 ข้อแตกต่างระหว่างอะตอม กับหัวพอต
เชื่อว่าหลายคนยังคงสงสัยอยู่ว่าสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างไร เพราะหน้าที่ และหลักการทำงานคล้ายกันซะเหลือเกิน คือเป็นที่ติดตั้งคอยล์ และกักเก็บน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า จึงไม่แปลกเลยที่บางคนยังแอบเข้าใจผิดว่ามันคืออย่างเดียวกัน ไม่เว้นแม้แต่นักสูบที่เคยใช้งานมาก่อน วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบให้ดูกันแบบชัด ๆ จนกว่าทุกคนจะหายสับสนกับเรื่องนี้กันไปเลย
- รูปทรงที่ต่างกัน โดยทั่วไปแล้วมักออกแบบมาเป็นแท่งกลมทรงสูง ซึ่งจะไม่ค่อยนอกกรอบไปจากนี้สักเท่าไหร่ ในขณะที่รูปทรงของหัวพอตนั้นมีหลากหลาย เพราะต้องดีไซน์มาให้มีความสวยงาม และเข้ากับตัวเครื่องแต่ละรุ่น จึงอาจมีทั้งแบบแท่งกลม สีเหลี่ยม หรืออื่น ๆ
- ขนาดขั้วเชื่อมต่อ ส่วนใหญ่จะใช้ขั้วเชื่อมต่อแบบ 510 ซึ่งอาจมีบางรุ่นที่เปลี่ยนไปใช้ขั้ว BF บ้าง ในการใช้งานกับกล่องบีบ แต่ถึงอย่างไรก็มีขนาดเท่ากัน จึงสามารถนำไปใช้กับกล่องบุหรี่ไฟฟ้าได้แทบทุกรุ่น ขณะที่หัวพอตจะใช้ขั้วเชื่อมต่อแบบเฉพาะ โดยอาจมีบางรุ่นที่ใช้ร่วมกันได้ แต่ส่วนมากจะใช้ได้แค่กับหัวพอตรุ่นของตัวเองเท่านั้น
- ปริมาณความจุน้ำยา ถ้าเป็นแบบ RTA หรือ RDTA ที่มีแท็งก์ในตัว ส่วนใหญ่จะบรรจุน้ำยาได้ตั้งแต่ 5 ml. ขึ้นไป ในขณะที่หัวพอตส่วนมากจะสามารถบรรจุน้ำยาได้เต็มที่ไม่เกิน 2 -3 ml. เท่านั้น เพราะถูกออกแบบมาให้ใช้กับน้ำยาซอลนิคเป็นหลัก ซึ่งเป็นชนิดที่มีความเข้มข้น บวกกับให้สมดุลกับขนาดของตัวพอตที่ต้องไม่ใหญ่มาก เพื่อง่ายต่อการพกพา จึงบรรจุน้ำยาได้ไม่เยอะ
- คอยล์ ผู้สูบจะสามารถออกแบบคอยล์เองได้ โดยการม้วนลวดเป็นลายต่าง ๆ หรือใส่สำลีได้ตามต้องการ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีหลายรุ่นที่รองรับคอยล์แบบสำเร็จอยู่บ้าง เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน ในขณะที่หัวพอตจะไม่มีตัวเลือกอื่นนอกจากใช้คอยล์แบบสำเร็จเท่านั้น และแน่นอนว่าไม่สามารถโมคอยล์ได้ ยกเว้นบางรุ่นเท่านั้นจริง ๆ ซึ่งก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก นอกจากนี้ยังมีแบบที่ติดตั้งคอยล์มาให้ในตัว และไม่สามารถถอดออกได้อีกด้วย
- วัสดุที่ใช้ วัสดุที่นำมาทำส่วนมากเป็นพวกแสตนเลส และไทเทเนียม ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง และมีอายุการใช้งานยาวนาน โดยบางรุ่นอาจมีการใช้แก้วสำหรับเป็นที่กักเก็บน้ำยาด้วย ขณะที่หัวพอตส่วนมากมักทำจากพลาสติก PCTG ซึ่งมีข้อดีคือ น้ำหนักเบา แข็งแรง และทนความร้อน เนื่องจากหัวพอตเป็นอุปกรณ์ที่ต้องเปลี่ยนบ่อย ราคาจึงต้องไม่แพงเกินไป
- ฟีลสูบ ข้อแตกต่างที่เห็นชัดมาก คือเรื่องของฟีลสูบ เพราะส่วนมากถูกออกแบบมาให้สูบแบบ DL หรือ Direct Lung ที่เน้นเรื่องกลิ่น และควันแบบจัดเต็ม ซึ่งอาจมีบางรุ่นที่รองรับการสูบแบบ RDL และ MTL อยู่บ้าง ในขณะที่หัวพอตจะถูกจำกัดเรื่องค่าโอห์ม ทำให้สูบได้แค่แบบ MTL เท่านั้น โดยจะมีเพียงไม่กี่รุ่นที่สามารถสูบแบบ RDL ได้
- ความหลากหลาย แน่นอนว่าอะไรที่ปรับแต่งได้มากกว่า ย่อมมีความหลากหลายยิ่งกว่า สามารถเลือกได้เลยว่าอยากใช้ลวดแบบไหน รูลมกว้าง หรือแคบเท่าไหร่ แถมยังปรับค่าโอห์มได้แบบอิสระ ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่หัวพอตไม่สามารถทำได้ หากใช้พอตอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนฟีลสูบ จะต้องเปลี่ยนคอยล์ใหม่เท่านั้น และมีน้อยรุ่นมาก ๆ ที่สามารถปรับรูลมได้อีกด้วย
- ราคา หากเดินเข้าร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเจอขายในราคาไม่เกิน 300 บาท แบบนี้อาจจะไม่ใช่ เพราะหากเป็นอะตอมแท้จะสามารถดูที่ราคาได้เลย ยังไงก็ไม่ต่ำกว่า 700 - 800 บาทแน่นอน ซึ่งหัวพอตอันหนึ่งราคาเต็มที่ยังไงก็ไม่เกิน 300 บาท
- อายุการใช้งาน เรื่องอายุการใช้งานบอกเลยว่ายาวนานมาก ยิ่งได้รับการดูแลรักษาที่ดีอาจอยู่ได้นานหลายปีเลยทีเดียว ต่างจากหัวพอตที่มีอายุการใช้งานสั้นกว่า แต่ก็แลกมากับราคาที่ถูกกว่าด้วยเช่นกัน
ใช้งานคู่กับอะไรได้บ้าง
- กล่องปรับวัตต์ เป็นประเภทของบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้คู่กันได้ดีที่สุด เพราะตัวกล่องรองรับการจ่ายไฟได้สูง และมีขั้วเชื่อมต่อแบบ 510 ที่พอดิบพอดีเหมือนเกิดมาคู่กัน ทำให้ใช้งานได้กับกล่องแทบทุกตัว จึงไม่แปลกใจเลยที่กล่องปรับวัตต์จะได้รับความนิยมจากนักสูบมากหน้าหลายตา ด้วยความหลากหลายด้านการใช้งานที่ต้องยกให้เป็นอันดับหนึ่งเลย
- มอดยิงสด อีกหนึ่งประเภทของบุหรี่ไฟฟ้าที่เปรียบเสมือนตำนานที่ยังมีลมหายใจ แม้ปัจจุบันไม่ค่อยเห็นคนใช้กันมากนัก และได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่ม แต่มอดชนิดนี้ยังคงใช้งานคู่กับแบบหยดสูบที่รองรับการจ่ายไฟแรงได้ดี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือกลิ่นที่ชัดแบบจัดเต็ม และควันจำนวนมากกว่าบุหรี่ไฟฟ้าแบบอื่น โดยมีข้อแนะนำคือ ควรใช้ขั้วเชื่อมต่อที่ยาวออกมาเล็กน้อย หรือใช้ไขควงขันขั้วออกมาสักหน่อย อีกทั้งผู้ใช้ควรมีความรู้เรื่องค่าโอห์ม และขดลวดพื้นฐานมาก่อน ดังนั้นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มจึงไม่ควรใช้มอดชนิดนี้เด็ดขาด
- กล่องบีบ เป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่ครั้งหนึ่งเคยฮิต และตอนนี้ก็ยังมีนักสูบจำนวนไม่น้อยที่ยังใช้งานอยู่ ซึ่งการทำงานจะคล้ายกับกล่องปรับวัตต์ แต่ต่างกันตรงที่ตัวนี้จะมีช่องสำหรับใส่ขวดน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อใช้บีบ และเติมน้ำยาได้ทันที จึงมักใช้คู่กับแบบหยดสูบที่รองรับขั้ว BF แต่ก็มีกล่องบีบบางรุ่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกับมอดยิงสดด้วย
- พอตมอด ประเภทของบุหรี่ไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างกลางตามชื่อของมัน คือสามารถจ่ายไฟได้แบบมอด และต้องใช้งานคู่กับหัวพอต แต่ถึงอย่างนั้นก็มีพอตมอดบางรุ่นที่มีอุปกรณ์เสริมเป็นอแดปเตอร์ 510 ที่แปลงขั้วพอตให้สามารถใช้งานร่วมกันได้
เลือกซื้ออย่างไรให้ถูกใจมากที่สุด
เนื่องจากมีให้เลือกหลากหลาย และแต่ละตัวก็ค่อนข้างมีความจำเพาะในการใช้งาน ซึ่งการอ่านข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ทางที่ดีจึงควรหาคลิปรีวิว หรือคลิปสอนการใช้สินค้ามาดูเพื่อเปรียบเทียบฟังก์ชันของแต่ละแบบ หลังจากนั้นอาจลองมองหาตัวเลือกสินค้าจากแบรนด์ดังที่มีชื่อเสียง เพื่อการันตีคุณภาพเบื้องต้น และพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมตามลิสต์ที่อยู่ด้านล่างนี้ เพื่อความแน่ใจอีกครั้ง
- พิจารณาตามระดับการใช้งาน ลักษณะ และฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นนักสูบมือใหม่ อาจลองเริ่มจากแบบใช้แล้วทิ้งก่อน แต่ถ้ามีประสบการณ์มาบ้างแล้ว อาจจะเปลี่ยนเป็นแบบ Rebuildable ที่สามารถปรับแต่งเองได้
- เปรียบเทียบราคา การเป็นนักสูบมือฉมังไม่ได้หมายความว่าต้องเลือกซื้อจากอันที่ราคาแพงที่สุดเสมอไป โดยคุณอาจตัดสินใจซื้ออันที่ให้กลิ่น และฟีลการสูบที่ถูกใจในราคากลาง ๆ เพื่อเซฟเงินก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าให้ซื้อเฉพาะอันที่ถูกกว่าเท่านั้น แต่ให้พิจารณาถึงภาพรวมทั้งตัวฟังก์ชัน ข้อดี ความชอบส่วนตัว โดยเปรียบเทียบราคาไปด้วย เพื่อคัดสรรตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด
- ดูค่าความต้านทาน จะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเมื่อใช้ในค่าความต้านทานที่เหมาะสม ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นตัวกำหนดความเข้มข้นของควัน ดังนั้นการเลือกซื้อให้ตรงกับเลเวลการสูบของตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ
- สำรวจความเข้ากันของอุปกรณ์ ควรเลือกซื้ออันที่ใช้งานร่วมกับ แท็งก์เก็บน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า สำลี คอยล์ และส่วนอื่น ๆ ในอุปกรณ์ได้ดี ซึ่งเคล็ดลับง่าย ๆ คือการเลือกซื้อจากแบรนด์เดียวกัน ที่มักจะออกแบบมาให้ใช้ร่วมกันได้อย่างแน่นอน
- คิดถึงฟีลการสูบ และรสชาติที่ได้รับ เพราะแต่ละตัวจะให้รสชาติ และฟีลการสูบที่ต่างกัน โดยเลือกซื้อได้ตั้งแต่ช่วงราคาถูก ไปจนถึงราคาแพง ซึ่งตามกฏพื้นฐานแล้ว ยิ่งราคาแพง รสชาติที่ได้ก็จะยิ่งดีขึ้น
ควรเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน
โดยทั่วไปแล้วจะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากซื้อจากแบรนด์ที่มีชื่อเสียงจะสามารถเชื่อถือเรื่องของคุณภาพได้ ในขณะที่คอยล์มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้นเพียงไม่กี่อาทิตย์ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะคอยล์มีราคาถูก จึงสามารถซื้อตุนเก็บไว้ได้คราวละมาก ๆ เพื่อเป็นอะไหล่สำรองสำหรับเปลี่ยนได้เสมอ
วิธีการทำความสะอาด
หลังจากใช้ไปสักพักควรนำออกมาล้างทำความสะอาดบ้าง เพื่อคงประสิทธิภาพการใช้งานให้ดีเหมือนเดิม ซึ่งวิธีทำง่ายมาก ๆ เพียงหมุนเกลียวออกจากตัวแบตเตอรี่ นำสำลีออกจากขดลวด หรือคอยล์ แล้วนำไปล้างในน้ำอุ่นเพื่อขจัดคราบเขม่าที่เกาะอยู่ หลังจากนั้นให้ใส่สำลีใหม่ แล้วประกอบกลับเข้าไปตามเดิมเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
รวมวิธีแก้ไขเบื้องต้น เมื่อมีการแจ้งเตือนสถานะต่าง ๆ
บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้สูบได้รับความสะดวก และตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย แต่บางครั้งก็อาจปรากฏข้อผิดพลาดในระบบการทำงานได้ โดยเฉพาะกับชิ้นที่เชื่อมต่อกับตัวเครื่อง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วหลายคนยังคงไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร วันนี้เราจึงได้นำวิธีแก้ไขเบื้องต้นที่ลองทำได้ง่าย ๆ มาฝากทุกคน
แจ้งเตือน Check Atomizer หรือ No Atomizer
เป็นแจ้งเตือนที่เกิดเมื่อขั้วของคอยล์ กับขั้วของบุหรี่ไม่แตะกัน ซึ่งอาจเกิดจากข้อผิดพลาดของการผลิตตั้งแต่ในโรงงาน หรือตัวเครื่องเกิดปัญหาขั้วจมจากการเสื่อมภาพ รวมถึงอาจมีขดลวดขาด หรือละลายจากการใช้งาน ซึ่งวิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ
- ลองถอดคอยล์ออกแล้วใส่เข้าไปใหม่ พร้อมตรวจสอบให้ดีว่าใส่ได้ถูกต้อง และแน่นสนิทดีแล้ว
- หากเป็นคอยล์สำเร็จรูป จะต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเดียว หากเปลี่ยนแล้วใช้งานได้ปกติเหมือนเดิม นั่นอาจเป็นเพราะอันเก่าที่เคยใช้เสื่อมสภาพแล้ว หรือไม่ได้มาตรฐาน
- ถ้าเป็นแบบ RBA ที่ต้องพันลวดเอง ให้ลองตรวจสอบดูอีกครั้งว่าจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ มีการไขน็อตแน่นสนิทดีแล้ว และตัวขดลวดไม่มีเส้นไหนที่ขาด หรือเสียหาย
- หากเกิดจากกรณีที่ขั้วเครื่องจมไปเลย หรือไม่เด้งกลับ อาจลองส่งให้ช่างพิจารณาก่อนว่าซ่อมได้หรือไม่ หรือควรเปลี่ยนเครื่องใหม่เลย
แจ้งเตือน Atomizer Short
เป็นแจ้งเตือนที่แสดงถึง การลัดวงจรของไฟฟ้า อาจเกิดจากขั้วของคอยล์ไปสัมผัสกับวัตถุอื่นที่ไม่ใช่ขั้วของตัวเครื่อง หรืออีกกรณีหนึ่งคือ หน้าสัมผัสของขั้วทั้งสองมีการสกปรกจากคราบน้ำยา นอกจากนี้หากเป็นแบบหยดสูบ หรือแบบพันลวดเอง อาจหมายความว่า ขดลวดมีการโดนส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวแท็งก์ หรือขันน็อตไม่แน่น ซึ่งวิธีแก้ไขเบื้องต้น คือ
- ลองทำความสะอาดตัวเครื่อง และขั้วให้สะอาด หลังจากนั้นเช็ดให้แห้ง และตรวจสอบอีกครั้งให้แน่ใจว่าไม่มีเศษฝุ่น หรือคราบน้ำยาติดอยู่แล้ว
- หากเกิดกับคอยล์แบบสำเร็จรูป ควรเปลี่ยนอันใหม่เลยจะง่ายที่สุด
- ถ้าเป็นแบบ RDA หรือ RTA ให้ลองตรวจสอบขดลวดดูว่ามีการสัมผัสกับฝาปิดหรือไม่ หรือมีรอยแตกหรือเปล่า
แจ้งเตือน Atomizer Low
เมื่อขึ้นแบบนี้แสดงว่า ค่าความต้านทานของคอยล์อยู่ในระดับต่ำเกินไป ควรหยุดใช้ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย ซึ่งวิธีแก้ไขที่ดีที่สุด คือซื้อคอยล์ใหม่ที่มีค่าโอห์มมากกว่าเดิมมาเปลี่ยนได้เลย
แจ้งเตือน Time Out หรือ Time Over
การแจ้งเตือนนี้มีสาเหตุจากผู้ใช้งานกำลังสูบบุหรี่ไฟฟ้าต่อครั้งนานเกินระยะเวลาที่โรงงานกำหนด ซึ่งเป็นระบบป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องร้อนเกินไป หรือเพื่อความปลอดภัยในกรณีที่ผู้สูบอาจกดปุ่มค้างไว้โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมาจะมีการตั้งเวลาที่แตกต่างกัน
แจ้งเตือน Overheat หรือ Temp High
ปกติแล้วระบบของบุหรี่ไฟฟ้าจะมีเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิติดตั้งอยู่บนแผงวงจร ซึ่งหากแจ้งเตือนนี้ขึ้นควรหยุดสูบ และพักเครื่องสักระยะหนึ่งก่อน เพราะแสดงว่าขณะนั้นอุณหภูมิภายในเครื่องกำลังสูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ภายในเสียหาย และเกิดอันตรายได้หากยังสูบต่อไป