หัวอะตอม RDTA
อะไรคืออะตอม RDTA สำหรับเพื่อนๆมือใหม่หลายคน อาจจะยังไม่รู้ว่าอะตอมนั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆในตอนนี้ ซึ่งจะมีทั้งหมดดังนี้ RDA (Rebuildable Dripping Atomiser) อะตอมหยดสูบ, RTA (Rebuildable Tank Atomiser) อะตอมแท็งก์ และ RDTA (Rebuildable Dripping Tank Atomiser) คือประเภทที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ ซึ่งหากให้อธิบายเข้าใจง่ายๆ RDTA นั้นเป็นการผสมผสานระหว่าง RDA และ RTA อย่างลงตัว สร้างจุดยืนรูปแบบใหม่สำหรับวงการอะตอม ดึงเอาประสิทธิภาพของหยดสูบออกมาได้อย่างเต็มที่ และความสะดวกสบายของแท็งก์มารวมกัน ทำให้ไม่เสียอรรถรสในตอนสูบ ไม่ถูกขัดจังหวะด้วยสำลีแห้ง หรือกลิ่นที่ไม่ชัดเจน กลบทุกปัญหาที่เคยมีมา
อะตอม RDTA มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
โดยหากเราต้องการจะเข้าใจรูปแบบของอะตอม RDTA แล้วนั้น เราคงจะต้องลงลึกในด้านส่วนประกอบต่างๆ ให้ดีสะก่อน ไม่อย่างงั้นก็ไม่สามารถพูดว่าเข้าใจวิธีการทำงานได้ โดยเราจะขอไล่จากบนลงล่างเพื่อให้เพื่อนๆ สามารถมองเห็นเป็นลำดับได้อย่างง่ายๆกัน โดยส่วนประกอบนั้นจะมีอะไรบ้าง และมีหน้าที่อะไรกัน เรามาดูกันได้เลยดังต่อไปนี้
- Drip Tip ดริปทิป เป็นส่วนด้านบนสุดของอะตอม หรือหากให้เรียกง่ายๆ ก็คือส่วนของปากสูบ ทำมาจากเรซิ่นซึ่งมีความทนทานและไม่สะสมความร้อนได้ง่ายๆ ช่วยให้ปากของผู้สูบไม่พองเมื่อสูบเป็นระยะเวลานานๆ และยังช่วยเรื่องของฟีลสูบด้วยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับรูปร่าง ขนาดของดริปทิป
- Adapter Drip Tip อแดปเตอร์ ดริปทิป โดยส่วนนี้จะมีหรือไม่มีนั้น ขึ้นอยู่กับรุ่นที่เราเลือกซื้อหรือมี จะช่วยให้สามารถใส่ดริปทิปได้ถึง 2 ขนาดด้วยกัน ประกอบไปด้วยขนาด 810 กับ 510 ซึ่งหากรุ่นของอะตอมนั้นมีส่วนนี้อยู่ แปลได้ว่าส่วนรูปากสูบหลักนั้นเป็นขนาด 810 และมีอแดปเตอร์ 510 ช่วยลดความกว้างของรูปากสูบลง
- Top Cap แคปส่วนบน เป็นส่วนฐานด้านบนสำหรับยึดดริปและส่วนอื่นของอะตอมเอาไว้ด้วยกัน เสริมทับด้วยยางโอริงไม่ให้เกิดความหลวมและลื่นจากช่องว่างของส่วนประกอบต่างๆ และยังทำให้เกิดสูญญากาศ ช่วยลดโอกาสน้ำยารั่วซึมอีกต่างหาก
- Airflow Control แคปรูลม ช่วยควบคุมขนาดของรูลมตามความชอบของผู้สูบ สามารถปรับได้เพียงแค่หมุนไปมา จะสังเกตุเห็นได้ถึงช่องรูลมของด้านในและด้านนอก ยิ่งรูลมเยอะก็ยิ่งได้ฟีลสูบโล่ง หากยิ่งน้อยก็จะอั้นเป็นกว่าเดิม
- Post เสาอะตอม ทำหน้าที่สำหรับยึดลวดและรับความร้อนจากขั้วพิน 510 ข้างใต้ เข้าสู่ตัวลวดเพื่อทำให้เกิดความร้อนสะสม จนสามารถทำปฏิกิริยาระเหยกับสำลีที่อมน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าเอาไว้ได้
- Build Deck ห้องเครื่อง สามารถเรียกว่าส่วนสำคัญสุดเลยก็ว่าได้ เพราะได้วางกลไกต่างๆเอาไว้ข้างในห้องเครื่องแล้ว เป็นส่วนที่ ลวด สำลี น้ำยาบุหรี่ ทำปิฏิกิริยาและส่งต่อไอระเหยสู่ส่วนด้านบนให้เราได้สูบกัน เป็นจุดที่หลายแบรนด์พยายามสร้างความแตกต่างและทำให้ไม่เหมือนกัน เพื่อสร้างจุดยืนและเคล็ดลับด้านฟีลสูบต่างๆของตัวเองกัน
- Glass Tank แท็งก์แก้ว นอกจากจะกักเก็บน้ำยาเอาไว้แล้ว ยังแสดงถึงปริมาณน้ำยาด้านในเอาไว้อีกต่างหาก โดยปริมาณความจุนั้น จะขึ้นอยู่กับรุ่นที่เราเลือกมา และบางรุ่นก็สามารถเปลี่ยนขนาดหรือรูปร่างได้อีกต่างหาก
510 Connector ฐานและพิน 510 ช่วยยึดขั้วจ่ายไฟและส่วนแก้วของอะตอมเอาไว้ หากขาดส่วนนี้ไปก็ไม่สามารถจะรับกระแสไฟจากส่วนไหนได้เลย โดยพินนี้จะยึดเข้ากับตัวเครื่องบุหรี่ไฟฟ้า แบ่งส่วนพินออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่พินด้านนอก ทำหน้าที่เป็นเกลียวยึด และขั้วทองแดงด้านในทำหน้าที่รับแรงกระแสไฟฟ้าจากตัวเครื่อง
อะตอม RDTA ทำงานอย่างไร
การทำงานของอะตอม RDTA นั้น มาจากรูปแบบหยดสูบเป็นหลัก จะเน้นปริมาณน้ำยาเล็กน้อยเติมเต็มส่วนของสำลี ไม่ให้สำลีต้องอมน้ำยาอยู่ตลอดเวลาจนเกินไป เพราะจะทำให้สำลีอิ่มตัวได้ง่าย และจะเสียกลิ่นของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าได้ไว จนต้องเปลี่ยนสำลีอยู่บ่อยๆเข้า ฉะนั้นแล้วส่วนของแท็งก์แก้วจึงเข้ามาช่วยตรงนี้ เพื่อแบ่งส่วนกักเก็บน้ำยาและสำลีแยกกันเอาไว้ เมื่อสูบไปตามปกติแล้ว และผู้สูบต้องการน้ำยา ก็ทำแค่เพียงพลิกคว่ำตัวเครื่องทั้งหมด ให้ส่วนของแท็งก์แก้วปล่อยน้ำยาเข้าสู่ส่วนของสำลีในปริมาณเหมาะสม เท่านี้ก็สามารถสูบต่อได้สบายๆ ไม่ต้องดึงฝาแคปออกเพื่อเติมอีกต่อไป และไม่สูญเสียกลิ่นในระยะยาวอีกต่อไป
ขั้นตอนวิธีใช้งาน
โดยขั้นตอนเตรียมการเพื่อใช้งาน RDTA นั้นง่ายดายมาก รับรองได้ว่าไม่ได้ยุ่งยากแบบที่เพื่อนๆ คิดอย่างแน่นอน โดยเราต้องลบภาพจำว่าอะตอมนั้นยุ่งยากออกเสียก่อนเป็นอย่างแรก นำอุปกรณ์ทุกอย่างมาให้พร้อม ได้แก่ อะตอม ตัวเครื่องบุหรี่ไฟฟ้า สำลี ลวด น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า แหนบเซรามิก กรรไกร และคีมตัดลวด โดยทางเราจะขอแบ่งขั้นตอนออกเป็นข้อๆ เพื่อให้เพื่อนๆสามารถทำตามได้อย่างเป็นลำดับดังนี้
- ดึงแคปทั้งหมดออก นำส่วนฐานพิน 510 ใส่เข้ากับตัวเครื่อง ก่อนใส่ตรงส่วนนี้ขอแนะนำให้ปิดเครื่องสะก่อน เพื่อตัดปัญหาไฟลั่นเอง เสร็จแล้วนำลวดมาใส่เข้าไปในเสาอะตอม วัดความยาวที่ต้องการให้เรียบร้อย เสร็จแล้วนำคีมตัดลวดมาตัดส่วนเกินออกไป และใส่ลวดกลับเข้าไปในเสา คันนอตเบาๆอย่าให้แน่นหรือหลวมมากจนเกินไป
- เปิดตัวเครื่องขึ้นมา ปรับกำลังไฟให้อยู่ราวๆ 15 - 30 วัตต์ กดปุ่มจ่ายไฟค้างและปล่อยไม่เกิน 2 - 3 วินาที ทำซ้ำจนลวดเริ่มเปลี่ยนสี เพิ่มกำลังไฟครั้งละ 10 - 20 วัตต์ตามความชอบ และวนซ้ำกระบวนการนี้ จนกว่าลวดจะเริ่มแดงทั้งรอบ หากรอบของลวดแดงไม่ครบ ให้นำแหนบเซรามิกมาขูดเบาตามรอบนั้นๆ บีบให้รอบแน่นขึ้น ขั้นตอนนี้อาจจะต้องมีความอดทนเล็กน้อย แต่แลกมากับกลิ่นและควันอันยอดเยี่ยมอย่างแน่นอน
- หลังรอบของลวดแดงได้ครบหมดแล้ว ให้ทิ้งเอาไว้สักพักจนกว่าลวดจะเย็นตัวลง ระหว่างรอแบ่งสำลีเอาไว้ 2 ชิ้นทำให้ความยาวของสำลีอยู่ราวๆ 8 เซนติเมตร หากลวดหายร้อนแล้ว ให้นำสำลีที่เตรียมไว้ใส่เข้าไปในรูรอบของลวด ใส่ให้สามารถทะลุออกไปอีกฝั่งได้ ทำให้ครบทั้งสองอัน ตัดแบ่งสำลีส่วนเกินออกไป เหลือไว้ไม่เกินด้านละ 3 เซนติเมตร
- ใช้แหนบเขี่ยปลายสำลีให้แตกปลายและมีใยสำลีหลุดออกมา เพื่อลดความหนาแน่นลงมา ช่วยให้น้ำยาซึมซับได้ง่ายขึ้น และยังทำให้กลิ่นของน้ำยาชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก เสร็จแล้วม้วนเก็บปลายสำลีเข้าไปในร่องของห้องเครื่องให้เรียบร้อย นำน้ำยามาหยด 2 - 3 หยด ปรับกำลังไฟเอาไว้ไม่เกิน 40 วัตต์ กดปุ่มจ่ายไฟเพื่อทดสอบและเบิร์นสำลี
- หากขั้นตอนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เติมน้ำยาให้เรียบร้อย ปิดแคปทั้งหมดให้แน่นหนา เพียงเท่านี้เพื่อนๆก็ได้อะตอมที่พร้อมใช้งานยาวๆกันแล้ว
RDTA รองรับกับเครื่องประเภทไหน
RDTA นั้นสามารถทำงานร่วมกับตัวเครื่องทุกประเภทที่สามารถเชื่อมต่อด้วยขั้ว 510 ได้ทั้งหมด เหมือนกับอะตอมทั่วไป ขอแค่เพียงตัวเครื่องนั้นมีกำลังไฟเพียงพอจะสามารถดันลวดที่ใส่อยู่ได้ หากตัวเครื่องนั้นมีกำลังไฟค่อนข้างต่ำ ทางเราขอแนะนำให้ใช้ลวด Ni80 หรือที่เรียกกันติดปากว่าลวดกลม เพราะความขดตัวของลวดประเภทนี้ค่อนข้างน้อย ทำให้ไม่ต้องการกำลังไฟสูงสักเท่าไหร่ ราวๆ 30 - 40 วัตต์ก็เพียงพอแล้ว เพราะฉะนั้นการเลือกตัวลวดให้เหมาะสมกับการใช้งานก็เป็นเรื่องสำคัญ ว่าอะตอมตัวนั้นๆ จะสามารถทำงานควบคู่กับตัวเครื่องได้หรือไม่
ทำไม RDTA ถึงยังไม่ได้รับความนิยม
ต้องเรียกว่ายังไม่ทันจะได้เปิดตัว ก็ถูกกลบกระแสจนหมด ทำให้ผู้คนบางกลุ่มยังไม่รู้จักกับอะตอมประเภทนี้สะด้วยซ้ำไป เพราะ RDTA นั้นได้กำเนิดหลังจาก RTA ได้ไม่นาน ในช่วงยุคสมัยอะตอม ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมอยู่ในตอนนั้น และ RDTA ก็กำลังถูกเหล่าแบรนด์ชั้นนำต่างๆเพ่งเล็งให้เป็นสินค้าชูโรงตัวต่อไป แต่ยังไม่ทันได้ผลิตหรือวิจัยออกมา ก็ได้ถูกกระแสนิยมของคอยล์ ซึ่งตอนนั้นพึ่งได้เปิดตัวคอยล์ที่สามารถดึงกลิ่นออกมาได้ชัดเจนสุดๆ สร้างความเบี่ยงเบนให้ผู้ผลิตหลายเจ้า โดยเฉพาะแบรนด์ที่ผลิตพอตอยู่แล้วเป็นทุนเดิม แต่ก็ไม่ใช่ทุกเจ้าจะปล่อยแนวคิดเรื่อง RDTA ไปทั้งหมด ได้มีหลายๆแบรนด์เช่น Smok ได้ปล่อย RDTA ออกมาสู่ท้องตลาด ให้เหล่าแฟนๆที่รอคอยอะตอมรุ่นใหม่นี้ได้ใช้กัน และแน่นอนว่าเหล่าผู้สูบอะตอมนั้น ย่อมชื่นชอบกับนวัตกรรมใหม่นี้อย่างแน่นอน เพราะได้รวมเอาข้อดีต่างๆของทั้งสองแบบเอามารวมไว้ด้วยกัน
ยังน่าใช้อยู่ไหม
หากเพื่อนๆเป็นคนที่ชอบสูบกลิ่นหอมๆ ชัดเจนๆ ควันเยอะๆ แล้วละก็ ต้องหลงรักกับ RDTA อย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าใครจะมองว่าค่อนข้างตกกระแสไปแล้วก็ตาม แต่ความชื่นชอบของแต่ละคนนั้น ไม่สามารถพูดออกมาได้ว่าล้าสมัย เพราะทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน ทั้งนี้ RDTA ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างว่า หากเพื่อนๆไม่ได้สนใจรูปร่างหน้าตาหรือกระแสในตอนนี้อยู่ และเพียงต้องการฟังก์ชันในด้านฟีลสูบดีๆ เน้นการใช้งานสะเป็นส่วนใหญ่ ก็พูดได้เต็มปากเลยว่า RDTA นั้นยังมีความน่าใช้งานเป็นอย่างสูง
จุดเด่นและจุดพิจารณาของ RDTA
จุดเด่น
- กลิ่นชัดเจน ควันหอม ดึงประสิทธิภาพน้ำยาออกมาได้ดี
- ปริมาณควันไม่แพ้ประเภทหยดสูบเลย
- ในระยะยาวประหยัดค่าอุปกรณ์มากกว่าแบบคอยล์แน่นอน
- ใช้น้ำยาฟรีเบส ซึ่งมีสารนิโคตินต่ำ
- ช่วยให้เลิกบุหรี่มวนได้ง่ายขึ้น
- อยู่ได้นาน หากดูแลดีๆอยู่ได้หลายปีแน่นอน
- สามารถต่อยอดความรู้ได้เรื่อยๆ
จุดพิจารณา
- เติมน้ำยาได้ยาก ต้องเทของเก่าทิ้งออกก่อน
- ต้องเรียนรู้วิธีใช้งาน
- ครั้งแรกค่าอุปกรณ์ต้องซื้อเยอะ